อัตราความเร็วที่ปลอดภัยในการขับรถตอนกลางคืน

ในตอนที่แล้ว ได้พูดถึงอัตราความเร็วในการขับรถในช่วงกลางวัน ในสภาพอากาศต่างๆ และ ระยะห่างที่ปลอดภัยไปแล้ว ในคราวนี้มาดูกันว่า ถ้าเป็นกลางคืน เราควรจะใช้อัตราความเร็วที่เท่าไร จึงจะขับรถได้อย่างปลอดภัย

แสงสว่างมีผลมากต่อการขับขี่ยานพาหนะอย่างปลอดภัย ความมืดทำให้ไม่สามารถมองเห็นวัตถุบางอย่างที่มีสีทึบ หรือไม่สะท้อนแสง และ แสงไฟที่สะท้อนในตอนกลางคืน อาจหลอกตาผู้ขับรถทำให้ไม่สามารถระบุวัตถุที่อยู่ด้านหน้า หรือ ลดความสามารถในการกะระยะห่างที่ถูกต้องได้ ประกอบกับสภาวะของผู้ขับขี่ที่อาจเหนื่อยล้าจากการทำงานมาแล้วทั้งวัน ก็เป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้โอกาสเกิดอุบัติเหตุในการขับรถช่วงกลางคืนมีมากขึ้นได้ จากสถิติ อุบัติเหตุในช่วงกลางคืนจะสูงกว่ากลางวันถึงสามเท่า ซึ่งอาจเป็นเพราะในช่วงกลางคืนมีรถยนต์บนถนนน้อยกว่ากลางวันทำให้ผู้ใช้รถชะล่าใจ ขับรถเร็วและละเลยการมองตรวจตราถึงสิ่งที่จะเข้ามาในเส้นทางของรถที่ตนขับอยู่ ดังนั้น อุบัติในช่วงกลางคืนจึงมักเป็นอุบัติเหตุรุนแรง และมีการสูญเสียสูง ความเร็วที่จะช่วยให้ขับรถในตอนกลางคืนได้อย่างปลอดภัย จึงเป็นอัตราความเร็วที่ “สามารถหยุดรถได้ในขอบเขตที่สายตามองเห็น”

“ขอบเขตที่สายตามองเห็น” ก็คือ ระยะทางที่ไฟหน้ารถของเราส่องถึง โดยทั่วไป ไฟสูงหน้ารถจะส่องสว่างได้ไกลประมาณ 100 เมตร ส่วนไฟต่ำจะส่องให้เห็นสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าได้ไม่เกิน 40 เมตร ดังนั้น แสงที่ไฟหน้าส่องไปถึง และระยะทางที่รถจะหยุดได้โดยปลอดภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก หากผู้ขับรถใช้ความเร็วสูงเกินไปโดยไม่สัมพันธ์กับระยะที่ไฟหน้ารถส่องถึงแล้ว ก็จะไม่สามารถหยุดรถได้ทันเมื่อเห็นสิ่งกีดขวาง ลองดูภาพประกอบนะครับ

เส้นสีดำ: แสดงระยะที่ไฟหน้ารถส่องถึง ซึ่งคือระยะที่คนขับสามารถมองเห็นถนนด้านหน้าได้

เส้นสีแดง: คือระยะหยุดรถที่สัมพันธ์กับความเร็วที่ขับขี่ รถคันนี้วิ่งเร็วเกินไป จึงต้องขับให้ช้าลงจึงจะหยุดรถได้ทันไม่ชนจิงโจ้ที่อยู่เลยระยะไฟส่องสว่างถึง

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าในสถานการณ์ไหน ความเร็วเกินควรเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทั้งสิ้ น ดังนั้น เมื่อไรที่คุณติดเครื่องรถยนต์พึงระลึกไว้เสมอว่า ต้องใช้ความเร็วที่จะทำให้คุณ และ ผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ ปลอดภัย เพราะการวิจัย ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยบนท้องถนนทั้งของไทย และต่างประเทศ มีผลตรงกันว่า ความเร็ว มีส่วนทำให้

1. มีโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ
2. การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมีความรุนแรง
3. สิ้นเปลืองพลังงาน และ
4. สิ้นเปลืองพลังงาน

ผมได้นำความเร็วที่เหมาะสมในสภาพถนน และสถานการณ์ต่างๆ มาแชร์ด้วย จะได้ใช้เป็นแนวทางนะครับ

ส่วนความเร็วตามกฎหมายนั้น หากอ้างอิงตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๒)ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วพอสรุปได้ว่ารถแต่ละประเภทจะใช้ความเร็วได้ ดังนี้

1. รถยนต์นั่งเก๋ง                    ขับไม่เกิน 90 ก.ม./ช.ม.
2. รถยนต์ปิกอัพ                    ขับไม่เกิน 90 ก.ม./ช.ม.
3. รถยนต์บรรทุก 6 ล้อ         ขับไม่เกิน 80 ก.ม./ช.ม.
4. รถยนต์บรรทุก 10 ล้อ       ขับไม่เกิน 80 ก.ม./ช.ม.
5. รถยนต์โดยสาร                ขับไม่เกิน 80 ก.ม./ช.ม.
6. รถยนต์บรรทุกพ่วง           ขับไม่เกิน 60 ก.ม./ช.ม.

แต่หากต้องการทราบรายละเอียดมากกว่านี้สามารถเข้าไปดูกฎกระทรวงฉบับนี้ได้ที่  http://pknow.edupol.org/Course/C3/Karnpolice_group/subj_traffic/tf1/doc/020604-07.pdf
เราจะได้เข้าใจรายละเอียดข้อบังคับของการใช้ความเร็วของยานพาหนะประเภทต่างๆ ในสภาพต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้นนะครับ

ที่มา ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
บทความของ คุณ ชรินทร์พร ธนศุภานุเวช ที่เรียบเรียงขึ้นจากข้อมูลในเว็บไซต์ www.thai rural community.com  www.geocities.wis www.tarc.ait.ac.th
http://www.thailaws.com/download/thaidownload/road_law.pdf